Netflix เผยเบื้องหลัง
ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง (Thai Cave
Rescue)
พาชมทุกแง่มุมการถ่ายทำเพื่อความสมบูรณ์แบบของลิมิเต็ดซีรีส์
หลังทะยานติดอันดับ Netflix
Top 10
Global ด้วยยอดชม
13.4 ล้านชั่วโมงภายในสัปดาห์แรก
รับชมวิดีโอเบื้องหลังการถ่ายทำได้ ที่นี่
กรุงเทพฯ 29 กันยายน
2565 –
หลังเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ลิมิเต็ดซีรีส์ ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง (Thai
Cave Rescue) ได้ทะยานสู่อันดับ 8 บน Top 10
หมวดรายการทีวีภาษาต่างประเทศทั่วโลก ของ Netflix ในสัปดาห์แรกแล้วเรียบร้อย
ด้วยจำนวนการเข้าชม 13.4 ล้านชั่วโมง พ่วงด้วยการขึ้นครองอันดับ 1 บนชาร์ต Top 10 ของ Netflix
ประเทศไทย
รวมถึงชาร์ต Top
10
ในอีกห้าประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
และมีแนวโน้มว่ากระแสจะยังพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งกว่าจะมาเป็นลิมิเต็ดซีรีส์ที่เล่าเรื่องราวของปฏิบัติการกู้ชีพถ้ำหลวงอย่างรอบด้าน
และสามารถนำเสนอมุมมองใหม่ที่ยังไม่เคยเผยที่ไหนมาก่อนเรื่องนี้
แน่นอนว่าทีมผู้สร้างต้องเตรียมงานกันอย่างหนัก เพื่อความสมบูรณ์แบบ Netflix
จึงพร้อมพาผู้ชมไปพบกับบางส่วนของเบื้องหลังการทำงาน
โดยเฉพาะการจำลองฉากภายในถ้ำหลวง และการถ่ายฉากใต้น้ำ
ที่ใช้ทั้งเวลาและความละเอียดเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ออกมาสมจริงที่สุดผ่านวิดีโอเบื้องหลังการถ่ายทำที่ปล่อยให้ได้รับชมกันแล้ววันนี้
แน่นอนว่าไฮไลต์ของลิมิเต็ดซีรีส์
ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง (Thai Cave
Rescue)
คือการจำลองฉากภายในของ
ถ้ำหลวง ที่ทีมงานใช้เทคโนโลยี Lidar Scan ในการสแกนถ้ำและทำโมเดลในคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเป็นแบบในการสร้างฉากจำลองในสตูดิโอ
และใช้เวลาถึงราว 3 สัปดาห์ในการสแกนเก็บข้อมูลในแต่ละโถงของถ้ำ
ซึ่งการเดินทางจากปากถ้ำเข้าไปในตัวถ้ำเพื่อเก็บข้อมูลนั้นก็สมบุกสมบันไม่น้อย
โดยทีมงานต้องทั้งปีนและคลานเข้าไปในถ้ำ ซึ่งกว่าจะเดินทางถึงโถง 9
ซึ่งเป็นบริเวณที่สมาชิกทีมหมูป่าอะคาเดมีติดอยู่นั้นก็ใช้เวลานานถึง 5
ชั่วโมงเลยทีเดียว
อนุสรณ์ มุสิกะบุตร
อนุสรณ์
มุสิกะบุตร
ผู้กำกับศิลป์ของลิมิเต็ดซีรีส์ ถ้ำหลวง:
ภารกิจแห่งความหวัง (Thai Cave Rescue) กล่าวว่า
“ความท้าทายสำหรับทีมงานฝ่ายศิลป์คือการต้องไปสัมผัสและสำรวจสถานที่จริง
และเอาส่วนนั้นกลับมาทำต่อในสตูดิโอ
เรามีการทดลองใช้วัสดุที่หลากหลายในการสร้างฉาก
เพื่อให้สมจริงและสามารถตั้งอยู่ในสตูดิโอได้ รวมถึงต้องสามารถ
มีช่องให้ทีมงานเข้าไปถ่ายทำได้ มีช่องสำหรับแสง มีน้ำ
และต้องปลอดภัยสำหรับทีมงานด้วย
โดยระหว่างการถ่ายทำนั้นจะต้องมีน้ำที่ไหลลงมาจากด้านข้าง น้ำหยดจากด้านบน
และมีคลื่นน้ำ เราจึงต้องสร้างระบบน้ำและระบบบ่อ
เพื่อให้มีทางระบายน้ำออกเมื่อน้ำล้นด้วย”
อีกความยากหนึ่งของการถ่ายทำซีรีส์เรื่องนี้คือการถ่ายทำฉากใต้น้ำ
โดยนักแสดงที่มีฉากดำน้ำในเรื่องนี้ต้องเข้ารับการฝึกดำน้ำทุกคน
ไม่ว่าแต่ละคนจะมีประสบการณ์ในการดำน้ำมาก่อนแค่ไหนก็ตาม
เพราะการดำน้ำในพื้นที่แคบๆ นั้นแตกต่างจากการดำน้ำแบบทั่วไป
รวมถึงยังมีการฝึกดำน้ำโดยที่ต้องพาคนอีกคนดำน้ำทะลุผ่านช่องแคบๆ ออกไปด้วยกันอีกด้วย
ซึ่งนอกจากความยากในส่วนของนักแสดงแล้ว
งานด้านภาพและการกำกับการถ่ายฉากใต้น้ำก็มีความท้าทายเช่นเดียวกัน
ปีเตอร์ ซุคคารินี
ปีเตอร์
ซุคคารินี
ผู้กำกับภาพใต้น้ำ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายทำว่า
“ความพิเศษของฉากใต้น้ำคือการที่ทีมงานสร้างฉากเป็นชิ้นส่วนแยกกันให้สามารถนำมาประกอบเป็นส่วนต่างๆของถ้ำได้
โดยทุกอย่างถูกสร้างอยู่ในแท็งก์น้ำเดียวกัน
แต่ความท้าทายอย่างมากในการกำกับฉากใต้น้ำ คือความลำบากในการสื่อสาร
เราจึงต้องมีลำโพงที่ช่วยให้
ส่งเสียงใต้น้ำได้
สำหรับฉากที่มีความตื่นเต้นในการถ่ายอย่างฉากที่นักดำน้ำต้องลอดผ่านอุโมงค์ที่แคบมากๆ
ในถ้ำ
เราต้องนำกล้องไปจ่อตรงหน้านักแสดงเลย
เพราะฉะนั้นกล้องจะอยู่ห่างจากหน้ากากดำน้ำของนักแสดงเพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้น
เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงความยากลำบากของพวกเขาจริงๆ นอกจากนี้ เรายังใช้เทคนิกอื่นๆ
อีกมากมายในการสร้างกระแสน้ำด้วย เนื่องจากเราต้องการกระแสน้ำที่ไหลแรงมากในบางฉาก
เพราะอยากให้ตัวนักแสดงเองได้พบกับความ
ท้าทายเหมือนในเหตุการณ์จริง”
และนี่คือบางส่วนของความทุ่มเทของทีมงานเบื้องหลัง
เพื่อสร้างสรรค์ลิมิเต็ดซีรีส์ ถ้ำหลวง:
ภารกิจแห่งความหวัง
(Thai
Cave Rescue) ให้ออกมาสวยงามและสมจริง
หากใครยังไม่จุใจกับเรื่องราวเบื้องหลังการถ่ายทำ
สามารถไปรับชมวิดีโอเบื้องหลังเต็มๆ ได้ทาง YouTube และ Facebook
ของ
Netflix
Thailand และติดตามรับชมเรื่องราวของปฏิบัติการ
กู้ชีพถ้ำหลวงกับแง่มุมที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหน
ผ่านมุมมองของสมาชิกทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ได้แล้ววันนี้ที่ Netflix!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น